วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเขียนประโยคบอกเล่า

 1. ประโยคบอกเล่า (Affirmative)
เป็นประโยคที่ใช้พูดเพื่อบอกเรื่องราว เป็นการให้ข้อมูล หรือเล่าเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งประโยคคำสั่ง ประโยคขอร้องด้วย
รูปแบบประโยค จะประกอบไปด้วย สองส่วน คือ ภาคประธาน และ ภาคกริยา เรียงกันตามลำดับ เช่น

                              ประธาน (Subject) กริยา (Verb)
ตัวอย่าง   Suda smiles.

สำหรับประโยคคำสั่ง จะละประธานไว้ในฐานะที่เข้าใจกัน เพราะ การสั่ง คือการพูดให้ผู้ฟังปฏิบัติตาม ดังนั้น ประธานจึงเป็นคำว่า YOU เช่น
Give me a glass of water. (เอาน้ำมาให้แก้วนึง)
สำหรับประโยคขอร้อง REQUEST เป็นคำพูดที่ควรใช้บ่อย ๆ เพราะเป็นคำพูดสุภาพที่ขอให้ผู้อื่นช่วย หรือทำอะไรบางอย่าง รูปประโยคก็จะเหมือนประโยคคำสั่ง เพียงแต่มีส่วนที่เป็นคำพูดเพราะ ๆ เพิ่มเข้ามา เช่น
Give me a glass of water, please. (ขอน้ำแก้วนึงครับ)
หรืออาจจะเป็นประโยคคำถามที่เพราะ ๆ ก็ได้ เช่น
Can you give me a glass of water, please? (ช่วยเอาน้ำให้ผมแก้วนึงนะครับ)  

                 รูปแบบประโยคบอกเล่า

- ประโยค อาจจะประกอบด้วย ประธาน และ กริยาเพียงสองตัวก็ได้ เช่น
Suda sleeps. (สุดานอน)

- ประโยคอาจจะมีคำมาต่อท้ายจากริยาได้อีก เช่น
a. กรรมตรง (Direct Object) หรือ กรรมรอง (Indirect Object) เช่น
Suda likes Narumon. (Narumon = Director Object) สุดาชอบนฤมล
Suda asked Narumon some questions. (Narumon = Indirect Object, some questions = Direct Object) สุดาถามนฤมล 2-3 คำถาม
b. คำที่บอกลักษณะ หรือ คำคุณศัพท์ (adjective) หรือ คำนามที่ต่อจาก verb to be เช่น
Suda looks tired. (สุดาดูท่าทางเหนื่อย)
You are the boss. (คุณเป็นหัวหน้า)
c. คำขยายกริยา (adverb) หรือ กลุ่มของคำขยายของกริยา (adverb เช่น
Suda sings beautifully. (สุดาร้องเพลงเพราะมาก)
He took a taxi to the station. (เขานั่งรถแท็กซี่ไปที่สถานี)

                           2. ประโยคคำถาม (Interrogative)
ในภาษาอังกฤษ คำถามสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. คำถามที่ต้องการคำตอบว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ เราเรียกว่าเป็น Yes/No question
2. ส่วนอีกลักษณะ จะขึ้นต้นประโยคด้วย คำว่า Who, What, Where, When, Why และ How (ใคร อะไร ที่ไหน ทำไม และอย่างไร) ซึ่งเรียกว่าเป็น WH-Question
1. Yes/No Question
ประโยคคำถามประเภทนี้ ถ้าเปรียบเทียบกับภาษาไทย ก็คือคำถามที่ถามว่า ใช่หรือไม่ ใช่ไหม เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า ฯลฯ การถามคำถามประเภท Yes/No Question นี้ มักจะลงท้ายประโยคด้วยเสียงสูง ตัวอย่างคำถามประเภทนี้ เช่น ถามว่า เมื่อวานไปได้ไปถอนเงินให้ผมหรือเปล่า เป็นต้น คำถามประเภทนี้ ในภาษาอังกฤษ จะมีรูปแบบการถามหลายอย่าง คือ
1. ขึ้นต้นคำถามด้วย Verb to be เช่น ถามว่า
ผู้หญิงคนนี้สวยไหม? เราถามว่า
Is this woman beautiful?
ถ้าถามว่า รถคันใหม่ของคุณสีแดงใช่ไหม? เราถามว่า
Is your new car red?
ถ้าถามว่า บ้านคุณอยู่ไกลหรือเปล่า (ถามคำถามนี้ รู้นะว่าคิดอะไรอยู่) เราถามว่า
Is your house far from here?
ถ้าภามว่า เด็ก ๆ พวกนั้น เป็นลูกคุณหรือเปล่า เราถามว่า
Are they your children?
จะเห็นว่า ประโยคภาษาอังกฤษเหล่านี้ ถ้าพูดเป็นประโยคบอกเล่า Verb to be จะอยู่หลังประธาน เช่น

ประโยคบอกเล่า ประโยคคำถาม
This woman is beautiful. Is this woman beautiful?
Your new car is red. Is your new car red?
Your house is far from here. Is your house far from here?
They are your children. Are they your children?
2. ขึ้นต้นคำถามด้วย Verb to do เช่น ถามว่า
คุณต้องการให้ผมช่วยเหลือไหม เราถามว่า
Do you need my help?
หรือ ถามว่า เธอเป็นคนตื่นนอนเช้าใช่ไหม? เราถามว่า
Does she get up early?
จะเห็นว่า ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย Do หรือ Does มาจากประโยคบอกเล่าธรรมดา ที่ไม่มีกริยาช่วยตัวอื่นอยุ่ด้วย ดังนี้

ประโยคบอกเล่า ประโยคคำถาม
You need my help. Do you need my help?
She gets up early. Does she get up early?
ข้อสังเกต
เราใช้ Do กับประธานพหูพจน์ และใช้กับ I, You, We, They
ส่วน Does เราใช้กับประธานเอกพจน์ และใช้กับ He, She และ It.
เมื่อมี does มาอยู่หน้าประโยค คำกริยาจะไม่เติม s
3. ขึ้นต้นคำถามด้วยกริยาช่วยตัวอื่น ๆ
ในกรณีที่ประโยคมีกริยาช่วย เช่น can, may, will, could เป็นต้น เราจะเอากริยาช่วย เหล่านี้ มาวางไว้หน้าประโยค เช่น ถ้าต้องการพูดว่า
กรุณาพูดช้าสักหน่อยได้ไหมครับ
Can you speak slowly, please?
จะกลับมาที่นี่อีกหรือไม่ครับ
Will you come back?
คุณจะลองใส่ไหมครับ
Would you like to try it on?
ข้อสังเกต
เรานำคำกริยาช่วย วางไว้หน้าประธาน จากนั้นจึงเรียงประโยคไปตามปกติ

                                        2. WH Question
เป็นการถามรายละเอียด ว่า ใคร(who) ทำอะไร(what) ที่ไหน(where) เมื่อไร(when) ทำไม(why) และอย่างไร(how) โดยมีการเรียงรูปประโยค ดังนี้

คำถาม กริยาช่วย/Verb to be ประธาน (กริยา)+ส่วนอื่น ๆ
ถ้ากริยาในประโยคเป็น Verb to be หรือมีกริยาช่วยตัวอื่น ๆ เราเพียงแต่สลับ Verb to be หรือ กริยาช่วยมาไว้หน้าประธาน ส่วนอื่น ๆ ยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิม แต่ถ้าประโยคเดิม ไม่มี verb to be หรือ กริยาช่วยตัวอื่น ๆ เราต้องใช้ do หรือ does มาวางไว้หน้าประธาน
ตัวอย่างประโยค
ถ้าต้องการถามว่า.....
- คุณมาจากที่ไหน?
Where are you from?
-รถบัสของคุณจอดที่ไหน
Where is your bus?
-คุณจะอยู่ที่นี่นานเท่าไร
How long will you stay here?
- เมื่อวานนี้คุณอยู่ที่ไหน
Where were you yesterday?
- คุณต้องการชมอะไร
What would you like to see, sir?
- คุณจะกลับมาอีกเมื่อไร
When will you be back?
ประโยคปฎิเสธ (Negative)
ประโยคปฏิเสธในภาษาไทยมีคำว่า "ไม่" แต่ในภาษาอังกฤษ จะมีคำว่า "not" อยู่ในประโยค ตำแหน่งในประโยค จะเป็นดังนี้

ประธาน กริยาช่วย/Verb to be not (กริยา)+ส่วนอื่น ๆ
ถ้าประโยคเดิม มี Verb to be หรือ กริยาช่วยตัวอื่น เช่น can, will ฯลฯ อยู่แล้ว คำว่า not จะอยู่หลัง verb to be หรือกริยาช่วยเหล่านั้น แต่ถ้าไม่มี verb to be หรือ กริยาช่วยตัวอื่นใด จะต้องนำ do หรือ does มาช่วยทำให้เป็นประโยคปฏิเสธ
ตัวอย่าง
ถ้าจะพูดว่า .....
- ราคาไม่แพง
It is not expensive.
- เราไม่มีสินค้าสีน้ำเงิน
We don't have the blue one.
- ผมไม่ชอบมาสาย
I don't like being late.
- ราคาจะไม่ลงอีก
The price won't come down.
ข้อสังเกต
ในภาษาพูด จะพูดแบบย่อคำ เช่น will not จะพูดว่า won't และ do not จะพูดย่อว่า don't


                                                                                                    

การเขียนจดหมายลา

การเขียนจดหมายลา
ใช้รูปประโยค May I be excused? ก็ได้ ซึ่งหมายถึง ผมขอตัวได้ไหมครับ ถ้าเป็นการลาเรียนก็ต่อด้วย May I be excused from study? หรือถ้าเป็นการลางานก็ May I be excused from work? และน่าจะต่อด้วยวันเวลา เช่น ถ้าเป็นวันจันทร์หน้าก็เขียนหรือพูดว่า May I be excused from study next Monday? แล้วแต่สถานการณ์นะครับ
ส่วนเหตุผลที่จะต้องลาก็ อาจจะต้องพูด
ใช้รูปประโยค May I be excused? ก็ได้ ซึ่งหมายถึง ผมขอตัวได้ไหมครับ ถ้าเป็นการลาเรียนก็ต่อด้วย May I be excused from study? หรือถ้าเป็นการลางานก็ May I be excused from work? และน่าจะต่อด้วยวันเวลา เช่น ถ้าเป็นวันจันทร์หน้าก็เขียนหรือพูดว่า May I be excused from study next Monday? แล้วแต่สถานการณ์นะครับ
ส่วนเหตุผลที่จะต้องลาก็ อาจจะต้องพูดว่า มีธุระด่วน (urgent business) หรือ ธุระสำคัญ (important business) หรือ ธุระจำเป็น (necessary business) ที่จะต้องทำ เอาอย่างนี้ดักว่าคือ
I have urgent business to attend to in Cholburi.
( ผมมีธุระด่วนที่จะต้องไปดูแลที่จังหวัดชลบุรี )
ไม่ใช่ชลบุรีจังหวัดเดียวนะครับ โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษนี้ใช้กับทุกจังหวัดในเมืองไทย นอกประเทศก็ยังใช้ได้ครับ
ดว่า มีธุระด่วน (urgent business) หรือ ธุระสำคัญ (important business) หรือ ธุระจำเป็น (necessary business) ที่จะต้องทำ เอาอย่างนี้ดักว่าคือ
I have urgent business to attend to in Cholburi.
( ผมมีธุระด่วนที่จะต้องไปดูแลที่จังหวัดชลบุรี )
ไม่ใช่ชลบุรีจังหวัดเดียวนะครับ โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษนี้ใช้กับทุกจังหวัดในเมืองไทย นอกประเทศก็ยังใช้ได้ครับ

รูปภาพ Wallpaper การ์ตูน มิรุโม่ ภูตจิ๋วจอมป่วน

การเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ

จดหมายภาษาอังกฤษ
    การเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือจดหมายติดต่อระหว่างบุคคล หรือจดหมายส่วนตัว อาจเป็นจดหมายถามทุกข์สุข แสดงความยินดี แสดงความเสียใจ  จดหมาย เชิญ จดหมายอีกประเภทหนึ่งเป็นจดหมายธุรกิจ ซึ่งใช้ติดต่อระหว่างบุคคลกับสำนักงานธุรกิจ หรือระหว่างสำนักงานธุรกิจด้วยกัน สำหรับในเอกสารนี้จะให้รายละเอียดเฉพาะจดหมายส่วนตัวเท่านั้น ซึ่งเป็นจดหมายที่นักเรียนคุ้นเคย และอาจนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า
มาเริ่มกันที่ส่วนประกอบของ การเขียนจดหมายในภาษาอังกฤษ
1. Heading (หัวจดหมายภาษาอังกฤษ) หัวจดหมายคือที่อยู่ของผู้เขียนจดหมาย และวันที่ที่เขียนจดหมาย ซึ่งนิยมเขียนไว้บนมุมด้านขวาหรือซ้ายของจดหมายก็ได้
2. Inside Address (ชื่อที่อยู่ของผู้รับจดหมายภาษาอังกฤษ) ชื่อที่อยู่ของผู้รับจดหมายภาษาอังกฤษ ซึ่งเขียนหรือพิมพ์ไว้ทางด้านซ้ายบน ถัดจากหัวจดหมายลงมาจะปรากฏเฉพาะในจดหมายธุรกิจเท่านั้น สำหรับรูปแบบการเขียนเหมือนกับหัวจดหมาย
3. Solution (คำขึ้นต้นจดหมายภาษาอังกฤษ) คำขึ้นต้นจดหมายในภาษาอังกฤษ เปรียบเสมือนคำทักทายเพื่อเริ่มต้นจดหมาย ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ริมซ้ายของกระดาษด้านบนต่อจากหัวจดหมาย สำหรับจดหมายติดต่อระหว่างบุคคล และต่อจากชื่อที่อยู่ของผู้รับจดหมาย สำหรับจดหมายธุรกิจ คำขึ้นต้นจดหมายอาจเขียนได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับบุคคลที่เราเขียนถึงว่ามีความสัมพันธ์กับผู้เขียนอย่างไร

3.1 คำขึ้นต้นสำหรับญาติผู้ใหญ่
My dear…………………….. , เช่น
My dear grandmother, (ย่า, ยาย)
My dear father, (พ่อ)
My dear uncle, (ลุง)
My dear mother, (แม่)
3.2   คำขึ้นต้นสำหรับญาติที่อายุอ่อนกว่า
Dear………… ,
My dear……………..,
My dearest……………..,
เช่น
My dearest son, (ลูก)
My dear Jim, (ระบุชื่อญาติ)
3.3   คำขึ้นต้นสำหรับญาติ, เพื่อน, ผู้รู้จัก ซึ่งมีวัยใกล้เคียงกันDear………… ,
My dear…………….., นิยมระบุชื่อ เช่นDear Surapong,Dear friend, (เพื่อน)
3.4   คำขึ้นต้นสำหรับบุคคลโดยทั่ว ๆ ไป ที่ทราบชื่อแต่ไม่รู้จักกันอย่างสนิท ถ้าเป็นชาวต่าง   ประเทศจะระบุคำนำหน้าชื่อพร้อมนามสกุล แต่ถ้าเป็นคนไทยอาจระบุชื่อแทนนามสกุลได้  เช่น
Dear…………?
Dear Dr.Young, (Dr. J.N. Young)
Dear Mrs.Supranee,
Dear Mr.Ferrari (Mr. D.F. Ferrari)
3.5   คำขึ้นต้นสำหรับผู้ใหญ่ที่รู้จัก นับถือ    Dear…………,
Dear Sir, (ผู้ชาย)
Dear Madam, (ผู้หญิง)
Dear teacher, (ครู)
Dear Mistress, (นายผู้หญิง)
3.6   คำขึ้นต้นสำหรับบุคคลที่มีตำแหน่งหน้าที่พิเศษ
Your Excellency, (ทูต, รัฐมนตรี)
Dear lady, Your Excellency, (ภริยาทูต, รัฐมนตรี)
Dear Mr. President, (ประธานาธิบดี)
Your Majesty,May it please your Majesty,Sir, Dear Mr. Speaker, (ประธานสภาผู้แทนราษฎร)
3.7   คำขึ้นต้นจดหมายธุรกิจ Dear Sir , Sir , Gentleman , Dear………., (ถ้ารู้จักชื่อ)
4. Body of letter (ตัวจดหมายภาษาอังกฤษ) ตัวจดหมาย คือ ข้อความของจดหมายซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของจดหมาย เพราะเป็นการสื่อความประสงค์ระหว่าง โดยข้อความในจดหมายปกติแล้วจะแบ่งเป็น 3 ตอน
4.1 ความนำ แสดงการแนะนำตัวหรือบอกสาเหตุ
4.2 เนื้อความ  บอกวัตถุประสงค์
4.3 สรุป เขียนสรุปเรื่องหรือความมุ่งหวังในอนาคต
5. Complimentary Close (คำลงท้ายจดหมายภาษาอังกฤษ) เมื่อเขียนจดหมายจบแล้ว ต้องมีคำลงท้าย ซึ่งมีหลายแบบขึ้นอยู่กับผู้รับ สำหรับที่นิยมกันโดยทั่วไปได้แก่
Yours sincerely, Sincerely yours, Sincerely, = ด้วยความจริงใจ
With love,With much love,Love,  = ด้วยความรัก
หรือดูเพิ่มเติมได้ในเรื่อง คำลงท้ายจดหมายภาษาอังกฤษ
6. Signature (การลงนามจดหมายภาษาอังกฤษ) การ ลงนามของผู้เขียนจดหมาย แสดงให้รู้ว่าใครเป็นผู้เขียนจดหมายนั้น ถ้าเป็นจดหมายส่วนตัว อาจเขียนชื่อหรือทั้งชื่อและนามสกุลในลักษณะหวัด หรือหวัดแกมบรรจง หรืออาจเป็นลายเซ็น (สำหรับบุคคลที่คุ้นเคยมาก ๆ) แต่สำหรับจดหมายธุรกิจนั้น ถัดจากคำลงท้ายจะเป็นลายเซ็น ถัดลงมาจะเป็นชื่อนามสกุลตัวบรรจง ถัดจากชื่ออาจเป็นตำแหน่ง
7. Outside address (การจ่าหน้าซองจดหมายภาษาอังกฤษ)
การจ่าหน้าซองจดหมายคือการเขียนที่อยู่ของผู้รับ (outside address) ซึ่งอาจเขียนได้ 2 แบบ คือ แบบขั้นบันได (Step) ซึ่งย่อเข้ามาทีละบรรทัด กับแบบบล็อก (Block)

Verb to be ( is , am , are)

Verb  to  be ( is ,  am ,  are)
    Verb  to  be  มีหลักการใช้  ดังนี้
1.      ถ้าเป็นกริยาสำคัญในประโยค  มีความหมายว่า  เป็น  อยู่  คือ
2.      ใช้วางข้างหน้า กลุ่มคำ   adjective  ( คำคุณศัพท์ )
3.      ใช้เป็นกริยาช่วยในโครงสร้างของประโยค Continuous ( ประโยคที่มี กริยา ing )
4.      ใช้เป็นกริยาช่วยในโครงสร้างของประโยค Passive  Voice
( ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ )
หลักการใช้กับประธานในประโยค
            1.  ถ้าประธานที่เป็นเอกพจน์บุรุษที่  ซึ่งได้แก่  He  She  It  หรือ ชื่อคนคนเดียว
     สัตว์ตัวเดียว  และสิ่งของอันเดียวที่ถูกกล่าวถึง  Verb  to  be  ที่ใช้  คือ  is   เช่น
                        *He  is  a  teacher.                               *Sam  is  a  singer
                        *She  is  in  the  room.                         *My  father   is  sleeping.
                        *It  is  a  dog.                                       *The  pencil  is  on  the  table
            2.   ถ้าประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่  1  (  ผู้พูดคนเดียว ) ซึ่งได้แก่  I  Verb  to  be 
ที่ใช้  คือ  am
                        *I  am  a  student.                                *  I  am  under  the  table.
            3.  ประธานเป็นพหูพจน์ทุกบุรุษ  ซึ่งได้แก่  We  You  They   หรือ ชื่อคนหลาย 
     สัตว์หลายตัว และสิ่งของหลายอันที่ถูกกล่าวถึง  Verb  to  be  ที่ใช้  คือ  are  เช่น
                        *We  are  nurses.                    *My  father  and  I  are  in  the  room.
                        *They  are  policemen.           *Suda and  her  friends  are  under  the  tree.
                        *You  are  very  good.            *The  players  are  in  the  playground.

สนทนาเรื่องกีฬา ( Talking about sport. )


สนทนาเรื่องกีฬา ( Talking about sport. )

Tim : What sport do you like most ?
( ว้อท สพอร์ท ดู ยู ไลค์ โมสท์ )
คุณชอบกีฬาประเภทใดมากที่สุด


Toy : I like foolball best of all. I also swim very well.
( ไอ ไลค์ ฟุตบอล เบสท์ เอิฟ ออล. ไอ ออลโซ สวิม เวริ เวลล์ )
ผมชอบฟุตบอลมากกว่ากีฬาชนิดอื่น แล้วผมก็ยังว่ายน้ำได้เก่งมากด้วย


Tim : I bet you could also run fast because a football player must run fast.
( ไอ เบ็ท ยู คูด ออลโซ รันน์ ฟาสท์ บิเคิสส์ อะ ฟุตบอล เพลเย่อร์ มัสท์ รัน ฟาสท์ )
ผมบอกคุณได้เลยว่า คุณต้องวิ่งเร็วด้วย เพราะนักฟุตบอลทุกคนวิ่งเร็วด้วย (เพื่อตามลูกให้ทัน)


But, myself like skiing. Do you know how to ski ?
( บั่ท มายเซลฟ์ ไล้ค์ สกีอิ่ง ดู ยู โน ฮาว ทู สกี๋ )
แต่ตัวผมเองชอบเล่นสกี คุณเล่นเป็นไหม รู้จักวิธีเล่นสกีหรือเปล่านั่นเอง


Tony : Yes, I often go with my family.
( เย้ส ไอ เอิ้ฟเฟ่น โก วิธ มาย แฟมิลี่ )
ครับ ผมไปเล่นกับครอบครัวบ่อย ๆ


There is a big mountain near my village. It snows a lot in the winter
( แธร์ อิสซ์ อะ บิค เม้าเท่น เนียร์ มาย วิลเล็จ อิท สโนว์ อะล็อต อิน เธอะ วินเท่อ)


Lot’s of people go there to ski.
( ล็อทส์ เอิฟ พี้โผ่ โก แธร์ ทู สกี)
ใกล้หมู่บ้านของผมมีภูเขาใหญ่ และหิมะจะตกมากในช่วงฤดูหนาว
ผู้คนมากมายจะไปที่นั่นเพื่อเล่นสกี



Tim : I hope we could go together sometime.
( ไอ โฮพ วี คูด โก ทูเก้ตเต่อร์ ซัมไทม์ )
หวัง ว่าเราคงได้ไปเล่นด้วยกันสักวันหนึ่งนะครับ


Tony :




Oh, that will be wonderful.
( โอ้, แธท วิวล์ บี วั้นเดอร์ ฟุล )
อ้อ คงเยี่ยมไปเลยครับ
 

Adverb